ใบงานที่ 2

วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี นครศรีธรรมราช
ต.ช้างกลาง อ.ช้างกลาง จ.นครศรีธรรมราช
แนวคิดเกี่ยวกับการจัดการนวัตกรรมและสารสนเทศของสถานศึกษา
1. เทคนิคและวิธีการใหม่ๆ เช่น วิธีการสอนแบบใหม่ วิธีการบริหารจัดการแบบใหม่ๆ วิธีแก้ปัญหา ส่งเสริมพัฒนานักเรียนด้านต่างๆ
2. คอมพิวเตอร์ เครือข่ายและอินเตอร์เน็ต โสตทัศนวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ เช่น เครื่องเล่นVCD โทรทัศน์ ของจริง ของจำลอง สิ่งพิมพ์
3. ห้องปฏิบัติการทดลอง โรงฝึกงาน ฟาร์ม สวนยางพารา สวนปาล์ม คอกสัตว์ต่างๆ
4. E-Learning หรือ Electronic Learning คือ การเรียนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์
5. การเรียนแบบ Online Learning หรือ Web-based Learning ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ Technology-based Learning เป็นการเรียนการสอนผ่านระบบอินเตอร์เน็ต อินทราเน็ตและเอ็กซ์ตร้าเน็ต
6. วิ ธีวิจัย ทั้งการวิจัยด้านการเรียนการสอน การบริหารจัดการและด้านอื่น ๆ
7.สื่อการเรียนรู้ต่างๆ ทั้งที่เป็นวัสดุอุปกรณ์ บทเรียนคอมพิวเตอร์

ปรัชญาวิทยาลัย
"เปิดโอกาสให้บุคคลได้ฝึกฝนในสิ่งที่ตนถนัดและสนใจ เพื่อพัฒนาให้บรรลุขีดความสามารถสูงสุดของตน"

วิสัยทัศน์ของสถานศึกษา

"วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีนครศรีธรรมราช เป็นสถานศึกษาที่มีความเป็นเลิศทางวิชาชีพคู่คุณธรรม มีระบบการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพมุ่งสู่มาตรฐานสากล "

พันธกิจของสถานศึกษา
1. จัดการศึกษาสู่ความเป็นเลิศทางวิชาชีพคู่คุณธรรม2. พัฒนาระบบการบริหารจัดการให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารบ้านเมืองที่ดี 3. ส่งเสริมการพัฒนาสังคมและชุมชนในด้านวิชาชีพอย่างยั่งยืนด้วยเทคโนโลยีและภูมิปัญญาไทย 4. พัฒนาบุคลากรให้มีศักยภาพก้าวทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีและสังคมอย่างต่อเนื่อง
ประวัติวิทยาลัย
วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีนครศรีธรรมราช เป็นสถานศึกษาสังกัดกองวิทยาลัยเกษตรกรรม กรมอาชีวศึกษา เดิมเป็นโรงเรียนเกษตรกรรมนครศรีธรรมราช ได้รับการจัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2522 โดยกระทรวง ศึกษาธิการได้ประกาศยกฐานะเป็นวิทยาลัยเกษตรกรรมนครศรีธรรมราช เพื่อขยายการศึกษาสูงขึ้นถึงระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ประเภทวิชาเกษตรกรรม (ปวส. เกษตรกรรม) ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นวิทยาลัยสิริธรรมนคร เมื่อวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2537 และเปลี่ยนชื่อเป็นวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีนครศรีธรรมราช เมื่อวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2539 และหลังจากได้มีการปฏิรูประบบการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 ให้วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีนครศรีธรรมราช สังกัดสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 4 สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2546
ปัจจุบันตั้งอยู่เลขที่ 244 หมู่ที่ 7 ตำบลช้างกลาง อำเภอช้างกลาง จังหวัดนครศรีธรรมราช รหัสไปรษณีย์ 80250 หมายเลขโทรศัพท์ 0-7548-6313 หมายเลขโทรสาร 0-7548-6314 ระยะทางห่างจากจังหวัด 52 กิโลเมตร ระยะทางจากกรุงเทพมหานครประมาณ 764 กิโลเมตร มีพื้นที่ทั้งหมด 783 ไร่ 300 ตารางวา
การจัดการศึกษา
พ.ศ. 2524 รับนักเรียนนักศึกษาเข้าเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) - ประเภทวิชาเกษตรกรรม
พ.ศ. 2527 รับนักเรียนนักศึกษาเข้าเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) - ประเภทวิชาเกษตรกรรม สาขาวิชาเกษตรกรรม
พ.ศ. 2528 รับนักเรียนนักศึกษาเข้าเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิค (ปวท.) - ประเภทวิชาเกษตรกรรม
พ.ศ. 2532 รับนักเรียนนักศึกษาเข้าเรียนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพพิเศษ สำหรับโครงการอาชีวศึกษาเพื่อการพัฒนาชนบท (อศ.กช.) - ประเภทวิชาเกษตรกรรม
พ.ศ. 2536 รับนักเรียนนักศึกษาเข้าเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) - ประเภทวิชาเกษตรกรรม สาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม - ประเภทวิชาบริหารธุรกิจ สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
พ.ศ. 2537 รับนักเรียนนักศึกษาเข้าเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) - ประเภทวิชาพาณิชยกรรม สาขาวิชาพณิชยการ รับนักเรียนนักศึกษาเข้าเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) - ประเภทวิชาบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการบัญชี
พ.ศ. 2539 รับนักเรียนนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) - ประเภทวิชาเกษตรกรรม สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ ตามโครงการปฏิรูปการศึกษาเกษตรเพื่อชีวิต
พ.ศ. 2542 รับนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) - ประเภทวิชาเกษตรกรรม สาขาวิชาพืชศาสตร์, สาขาวิชาสัตวศาสตร์, สาขาวิชาการประมง และสาขาวิชาอุตสาหกรรมเกษตร
พ.ศ. 2543 รับนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) - ประเภทวิชาเกษตรกรรม สาขาวิชาเทคโนโลยีภูมิทัศน์ - ประเภทวิชาบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการตลาด
พ.ศ. 2546 รับนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) - ประเภทวิชาประมง สาขาวิชาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
หลักสูตรที่เปิดสอน
1. การจัดการศึกษาในระบบ ดำเนินการจัดการศึกษาวิชาชีพประกอบด้วยหลักสูตร ดังนี้ 1.1 หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) 1.1.1 ประเภทวิชาเกษตรกรรม (โครงการปฏิรูปการศึกษาเกษตรเพื่อชีวิต) - สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ 1.1.2 ประเภทวิชาพาณิชยกรรม - สาขาวิชาพณิชยการ 1.2 หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.พิเศษ) สำหรับโครงการอาชีวศึกษาเพื่อการพัฒนาชนบท (อศ.กช.) 1.3 หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) 1.3.1 ประเภทวิชาเกษตรกรรม - สาขาวิชาพืชศาสตร์ - สาขาวิชาสัตวศาสตร์ - สาขาวิชาอุตสาหกรรมเกษตร 1.3.2 ประเภทวิชาประมง - สาขาวิชาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ 1.3.3 ประเภทวิชาบริหารธุรกิจ - สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ - สาขาวิชาการบัญชี - สาขาวิชาการตลาด
2. การจัดการศึกษานอกระบบ เป็นการให้ความรู้ทางด้านการเกษตรแก่เกษตรกรและประชาชนผู้สนใจทั่วไป ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช ้ ในการประกอบอาชีพ ได้แก่ หลักสูตรการฝึกอบรมอาชีพเกษตรกรรมระยะสั้น และ โครงการ 9+1
3. การจัดการบริการชุมชนในด้านต่าง ๆ ได้แก่ โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน ในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนจังหวัดนครศรีธรรมราช ในพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี และโรงเรียนสังกัดการประถมศึกษาแห่งชาติ การสนับสนุนโครงการฟื้นฟูสภาพสิ่งแวดล้อมและชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนผู้ประสบอุทกภัยภาคใต้ของสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ร่วมพัฒนาชุมชนและหน่วยงานต่าง ๆ

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • Twitter
  • RSS

0 Response to "ใบงานที่ 2"

แสดงความคิดเห็น