ใบงานที่ 2

วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี นครศรีธรรมราช
ต.ช้างกลาง อ.ช้างกลาง จ.นครศรีธรรมราช
แนวคิดเกี่ยวกับการจัดการนวัตกรรมและสารสนเทศของสถานศึกษา
1. เทคนิคและวิธีการใหม่ๆ เช่น วิธีการสอนแบบใหม่ วิธีการบริหารจัดการแบบใหม่ๆ วิธีแก้ปัญหา ส่งเสริมพัฒนานักเรียนด้านต่างๆ
2. คอมพิวเตอร์ เครือข่ายและอินเตอร์เน็ต โสตทัศนวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ เช่น เครื่องเล่นVCD โทรทัศน์ ของจริง ของจำลอง สิ่งพิมพ์
3. ห้องปฏิบัติการทดลอง โรงฝึกงาน ฟาร์ม สวนยางพารา สวนปาล์ม คอกสัตว์ต่างๆ
4. E-Learning หรือ Electronic Learning คือ การเรียนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์
5. การเรียนแบบ Online Learning หรือ Web-based Learning ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ Technology-based Learning เป็นการเรียนการสอนผ่านระบบอินเตอร์เน็ต อินทราเน็ตและเอ็กซ์ตร้าเน็ต
6. วิ ธีวิจัย ทั้งการวิจัยด้านการเรียนการสอน การบริหารจัดการและด้านอื่น ๆ
7.สื่อการเรียนรู้ต่างๆ ทั้งที่เป็นวัสดุอุปกรณ์ บทเรียนคอมพิวเตอร์

ปรัชญาวิทยาลัย
"เปิดโอกาสให้บุคคลได้ฝึกฝนในสิ่งที่ตนถนัดและสนใจ เพื่อพัฒนาให้บรรลุขีดความสามารถสูงสุดของตน"

วิสัยทัศน์ของสถานศึกษา

"วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีนครศรีธรรมราช เป็นสถานศึกษาที่มีความเป็นเลิศทางวิชาชีพคู่คุณธรรม มีระบบการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพมุ่งสู่มาตรฐานสากล "

พันธกิจของสถานศึกษา
1. จัดการศึกษาสู่ความเป็นเลิศทางวิชาชีพคู่คุณธรรม2. พัฒนาระบบการบริหารจัดการให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารบ้านเมืองที่ดี 3. ส่งเสริมการพัฒนาสังคมและชุมชนในด้านวิชาชีพอย่างยั่งยืนด้วยเทคโนโลยีและภูมิปัญญาไทย 4. พัฒนาบุคลากรให้มีศักยภาพก้าวทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีและสังคมอย่างต่อเนื่อง
ประวัติวิทยาลัย
วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีนครศรีธรรมราช เป็นสถานศึกษาสังกัดกองวิทยาลัยเกษตรกรรม กรมอาชีวศึกษา เดิมเป็นโรงเรียนเกษตรกรรมนครศรีธรรมราช ได้รับการจัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2522 โดยกระทรวง ศึกษาธิการได้ประกาศยกฐานะเป็นวิทยาลัยเกษตรกรรมนครศรีธรรมราช เพื่อขยายการศึกษาสูงขึ้นถึงระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ประเภทวิชาเกษตรกรรม (ปวส. เกษตรกรรม) ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นวิทยาลัยสิริธรรมนคร เมื่อวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2537 และเปลี่ยนชื่อเป็นวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีนครศรีธรรมราช เมื่อวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2539 และหลังจากได้มีการปฏิรูประบบการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 ให้วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีนครศรีธรรมราช สังกัดสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 4 สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2546
ปัจจุบันตั้งอยู่เลขที่ 244 หมู่ที่ 7 ตำบลช้างกลาง อำเภอช้างกลาง จังหวัดนครศรีธรรมราช รหัสไปรษณีย์ 80250 หมายเลขโทรศัพท์ 0-7548-6313 หมายเลขโทรสาร 0-7548-6314 ระยะทางห่างจากจังหวัด 52 กิโลเมตร ระยะทางจากกรุงเทพมหานครประมาณ 764 กิโลเมตร มีพื้นที่ทั้งหมด 783 ไร่ 300 ตารางวา
การจัดการศึกษา
พ.ศ. 2524 รับนักเรียนนักศึกษาเข้าเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) - ประเภทวิชาเกษตรกรรม
พ.ศ. 2527 รับนักเรียนนักศึกษาเข้าเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) - ประเภทวิชาเกษตรกรรม สาขาวิชาเกษตรกรรม
พ.ศ. 2528 รับนักเรียนนักศึกษาเข้าเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิค (ปวท.) - ประเภทวิชาเกษตรกรรม
พ.ศ. 2532 รับนักเรียนนักศึกษาเข้าเรียนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพพิเศษ สำหรับโครงการอาชีวศึกษาเพื่อการพัฒนาชนบท (อศ.กช.) - ประเภทวิชาเกษตรกรรม
พ.ศ. 2536 รับนักเรียนนักศึกษาเข้าเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) - ประเภทวิชาเกษตรกรรม สาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม - ประเภทวิชาบริหารธุรกิจ สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
พ.ศ. 2537 รับนักเรียนนักศึกษาเข้าเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) - ประเภทวิชาพาณิชยกรรม สาขาวิชาพณิชยการ รับนักเรียนนักศึกษาเข้าเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) - ประเภทวิชาบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการบัญชี
พ.ศ. 2539 รับนักเรียนนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) - ประเภทวิชาเกษตรกรรม สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ ตามโครงการปฏิรูปการศึกษาเกษตรเพื่อชีวิต
พ.ศ. 2542 รับนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) - ประเภทวิชาเกษตรกรรม สาขาวิชาพืชศาสตร์, สาขาวิชาสัตวศาสตร์, สาขาวิชาการประมง และสาขาวิชาอุตสาหกรรมเกษตร
พ.ศ. 2543 รับนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) - ประเภทวิชาเกษตรกรรม สาขาวิชาเทคโนโลยีภูมิทัศน์ - ประเภทวิชาบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการตลาด
พ.ศ. 2546 รับนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) - ประเภทวิชาประมง สาขาวิชาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
หลักสูตรที่เปิดสอน
1. การจัดการศึกษาในระบบ ดำเนินการจัดการศึกษาวิชาชีพประกอบด้วยหลักสูตร ดังนี้ 1.1 หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) 1.1.1 ประเภทวิชาเกษตรกรรม (โครงการปฏิรูปการศึกษาเกษตรเพื่อชีวิต) - สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ 1.1.2 ประเภทวิชาพาณิชยกรรม - สาขาวิชาพณิชยการ 1.2 หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.พิเศษ) สำหรับโครงการอาชีวศึกษาเพื่อการพัฒนาชนบท (อศ.กช.) 1.3 หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) 1.3.1 ประเภทวิชาเกษตรกรรม - สาขาวิชาพืชศาสตร์ - สาขาวิชาสัตวศาสตร์ - สาขาวิชาอุตสาหกรรมเกษตร 1.3.2 ประเภทวิชาประมง - สาขาวิชาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ 1.3.3 ประเภทวิชาบริหารธุรกิจ - สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ - สาขาวิชาการบัญชี - สาขาวิชาการตลาด
2. การจัดการศึกษานอกระบบ เป็นการให้ความรู้ทางด้านการเกษตรแก่เกษตรกรและประชาชนผู้สนใจทั่วไป ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช ้ ในการประกอบอาชีพ ได้แก่ หลักสูตรการฝึกอบรมอาชีพเกษตรกรรมระยะสั้น และ โครงการ 9+1
3. การจัดการบริการชุมชนในด้านต่าง ๆ ได้แก่ โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน ในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนจังหวัดนครศรีธรรมราช ในพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี และโรงเรียนสังกัดการประถมศึกษาแห่งชาติ การสนับสนุนโครงการฟื้นฟูสภาพสิ่งแวดล้อมและชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนผู้ประสบอุทกภัยภาคใต้ของสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ร่วมพัฒนาชุมชนและหน่วยงานต่าง ๆ

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • Twitter
  • RSS

ใบงานที่ 14 blog กับ Go to Know

Blogspot และ Gotoknow

คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...

ประโยชน์ของการได้เรียนการทำบล็อก
1.เป็นสื่อที่ใช้ในการแสดงความคิดเห็น ความรู้สึกของผู้เขียนเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ เพื่อเสนอให้ผู้คน สาธารณะได้รับรู้
2.เป็นเครื่องมือช่วยในด้ารธุรกิจ เช่น การโฆษณา ประชาสัมพันธ์ การเสนอข่าวสารความเคลื่อนไหวขององค์กร การเสนอตัวอย่างสินค้า การขายสินค้า และการทำการตลาดออนไลน์ เป็นต้น
3.เป็นแหล่งความรู้ใหม่ๆ ที่ถูกต้องและชัดเจน จากผู้มีความรู้เฉพาะด้านๆ นั้น เนื่องจากผู้เขียน Blog มักจะเขียนถึงเรื่องที่ตัวเองถนัด ชอบ และมีความรู้ลึกในเรื่องนั้นๆ การค้นหาข้อมูลเฉพาะด้านใน Blog ต่างๆ จึงทำให้เราค้นพบความรู้ และผู้มีความรู้ความชำนาญในด้านต่าง ๆ ได้รวดเร็วขึ้น
4.ทำให้ทันต่อเหตุการณ์ในโลกปัจจุบัน เพราะข่าวสารความรู้ มาจากผู้คนมากมาย(ทั่วโลก) และมักจะเปลี่ยนแปลงได้ทันกับเหตุการณ์ปัจจุบันเสมอ
5. การเข้า webside blogspot จะเข้าง่ายกว่า
6. blogspot มี background รูปแบบพื้นหลังให้เลือกหลากหลาย
7. blogspot จะมีลูกเล่นที่น่าสนใจ เช่น การทำวีดีโอ วิทยุ นาฬิกา ปฏิทิน เป็นต้น
8. รูปแบบของบล็อกน่าในใจ และน่าติดตาม
9. อ่านบันทึกแล้วสามารถแสดงความคิดเห็นได้ และเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อนได้

ประโยชน์ของการได้เรียนทำ Gotoknow
1. ใช้เป็นที่เก็บรวบรวมความรู้ และสามารถใช้เป็นที่เก็บภาพและข้อมูลได้
2. สามารถเข้าไปอ่านบันทึกและแสดงความคิดเห็นได้
3. ในบล็อกสามารถทำ Link ให้กับเว็บไซต์ที่เราสนใจได้
4. บล็อกสามารถเปิดพร้อมกันหลาย ๆ หน้าต่างได้และสามารถแก้ไขบันทึก 2 บันทึกขึ้นไปพร้อมกันได้
5. การเขียนบันทึกใน word จะเอามาลงใน Gotoknow โดยตรง ตัวอักษรจะมีขนาดคงที่
6. ได้พบเพื่อนใหม่ที่สนใจในเรื่องเดียวกัน
7. ภาพที่ใส่ในบันทึกจะคมชัดกว่า (ภาพเดียวกันที่ใส่) ใน Word
8. ระบบบล็อกของ GotoKnow สามารถตกแต่งรูปลักษณ์ได้สารพัด
9. การกรอกประวัติ gotoknow จะให้กรอกประวัติได้ครบถ้วนชัดเจน

Gotoknow
- Gotokhow เมื่อบันทึกบทความแล้ว นอกจากข้อความจะปรากฏใน blog ตัวเองแล้วยังปรากฏใน blog กลางของ gotokhow ด้วย แต่ blogspot ข้อความจะปรากฏเฉพาะใน blog ตัวเองเท่านั้น
- Gotokhow มีผู้คอยดูแลระบบกลาง คอยสร้างความเข้าใจ สร้างแรงจูงใจ สร้างบรรยากาศและมิตรภาพที่งดงามให้แก่สมาชิก แต่ blogspot ไม่มีผู้คอยดูแลระบบ เจ้าของ blog เท่านั้นที่เป็นผู้รับผิดชอบโดยตรงในการตรวจสอบและกลั่นกรอง
- Gotokhow มีการประเมินผลการเขียนบล็อก ทำให้ผู้เขียนบล็อกเกิดกำลังใจ ซึ่งเป็นเหมือนพันธะสัญญาที่จะต้องพัฒนาการเขียนการคิดและการนำความรู้ไปปฏิบัติงานให้ดียิ่งขึ้น แต่ blogspot ไม่มีในส่วนนี้
- Gotokhow ไม่สามารถตกแต่ง blog ได้มาก ซึ่งแตกต่างจาก blogspot ซึ่งผู้เขียนสามารถตกแต่ง blog ได้หลากหลาย ทำให้สร้างแรงจูงใจในการทำ blog ได้มากกว่า gotokhow เช่น สามารถเปลี่ยนสกินได้มาก สามารถใส่คลิป เพลง ลูกเล่นต่างๆ ได้เย่อะ ทำให้มีความน่าสนใจมาก ผู้เขียนเองก็สนุกกับการเขียน blog เปิดโอกาสให้เจ้าของ blog ได้แสดงความคิดสร้างสรรค์ได้เต็มที่
  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • Twitter
  • RSS

ใบงานที่ 13 การไปทัศนศึกษาดูงาน วันที่ 18-22 มกราคม 2553



โครงการพัฒนานักศึกษาประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
กิจกรรมศึกษาดูงานด้านการบริหารจัดการสถานศึกษา
ภาคกลาง – ภาคอีสาน วันที่ 17 - 22 มกราคม 2553
การศึกษาดูงานโรงเรียนอนุบาลหนองคาย ได้รับการต้อนรับอย่างดีจากผู้อำนวยการนายสัมฤทธิ์ เจริญดี และคณะครูที่มาต้อนรับ สำหรับโรงเรียนอนุบาลหนองคายเปิดสอนในระดับชั้นอนุบาลปีที่ 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีนักเรียนทั้งสิ้น 2,002 คน 49 ห้องเรียน ผลงานของโรงเรียนอนุบาลหนองคาย
1. โรงเรียนรางวัลพระราชทานระดับประถมศึกษา
2. โรงเรียนผู้นำการเปลี่ยนแปลง
3. โรงเรียนต้นแบบการใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
4. โรงเรียนต้นแบบการจัดการศึกษาปฐมวัย
5. โรงเรียนวิถีพุทธ
6. โรงเรียนส่งเสริมสุภาพ
7. โรงเรียนดีศรีหนองคาย

ซึ่งในการเข้าเยี่ยมชมในครั้งนี้ผู้บริหารได้มาต้อนรับและทำการบรรยายถึงยุทธวิธีการบริหารโรงเรียนให้ประสบความสำเร็จอย่างมีคุณภาพ
การศึกษาดูงานประเทศลาว ได้มีโอกาสเข้าสู่ประเทศลาวซึ่งเป็นบ้านพี่เมืองน้องของไทยวิถีชีวิตของคนลาวมีส่วนคล้ายคลึงกับประเทศไทยมากแต่ความเจริญก้าวหน้ายังล้าหลังกว่าประเทศไทย คนลาวมีวิถีชีวิตที่ค่อนข้างเรียบง่าย คนลาวสามารถใช้ภาษาไทยได้เป็นอย่างดี
การศึกษาดูงานที่หมู่บ้านงูจงอาง ที่บ้านโคกสง่า ตำบลทรายมูล ได้ร่วมดูการแสดงคนกับงูจงอาจ ซึ่งเป็นการแสดงที่ค่อนข้างอันตรายคนที่ไม่มีประสบการณ์จะลองทำไม่ได้ ชีวิตคนที่นั้นยังเป็นสังคมชนบทอยู่มาก มีการหาสมุนไพรมาขาย และได้รับการต้อนรับที่ดีจากชุมชนที่นั้น
การศึกษาที่จังหวัดเพชรบุรี ณ อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี ได้เข้าพักบ้านพักและร่วมรับประทานอาหารร่วมกันในตอนเย็นมีการทำกิจกรรมกลุ่มตลอดจนแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
สำหรับความคาดหวังในผลการเรียนขอ A ครับ ด้วยเหตุผลของการส่งงานตามกำหนดและเข้าเรียนตามตารางให้ความร่วมมือในการเรียนการสอนเป็นอย่างดี
  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • Twitter
  • RSS